วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

โซลิดแคม ไอแมชชีนนิ่ง คืออะไร ?

คำถามที่พบบ่อย  






โซลิดแคม ไอแมชชีนนิ่ง คืออะไร ?
SolidCAM iMachining™   คือ โปรแกรม ช่วยสร้างการเดินกัดงานแบบความเร็วสูงที่มีความชาญฉลาด ,ได้ถูกออกแบบมาทำให้ผลของการทำงานด้วยโปรแกรม ซีเอ็นซี  มี ความรวดเร็วขึ้นได้ และ ช่วยประหยัดต้นทุนได้  ในงานผลิต ชิ้นส่วนเครื่องกล
ความหมาย ของ ความ รวดเร็ว ในที่นี่หมายความว่าทำงาน ได้รวดเร็วกว่าการกัดงานด้วยโปรแกรมแบบดั้งเดิมที่ค่าดีที่สุดด้วย
ความหมาย ของ ความประหยัด ในที่นี้ คือ ช่วยลดความเสี่ยงของทูลที่จะแตกหัก หรือทำให้เกิดการ สึกหรอมากเกินไปในการกัดงานและ ยังช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของทูลได้ อีกทั้งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางต้นทุน ต่างๆ ได้ ในเวลาอันสั้น


เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้  SolidCAM iMachining™   ได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่จดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อย โดยใช้ขั้นตอนวิธีการ คิดคำนวณเพื่อสร้างเส้นทางการเดินตัดของเครื่องจักรที่ให้ความราบเรียบของการเดินตัดเฉือน โดยใช้คุณสมบัติทางกลของวัสดุ เข้ามาช่วยกำหนดเงื่อนไขความสม่ำเสมอของการการตัดเฉือน  ทั้ง สอง อย่าง คือ ค่าทางกล และ ค่าภาระที่เกิดความร้อนสะสม ใน คัต ติ้งทูล ให้ ค่าการคายเศษมีความหนาเท่าๆ กันในความเร็วคงที่ และ ค่าความลึกของการกัดงานได้ถึง สี่เท่าของ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  ความโตของทูล

ไอแมชชีนนิ่ง ทูลพาธ
โมดูล ไอแมชชีนนิ่ง ใช้วิธีการสร้างรูปแบบของ ทูลพาธ  ชนิด Morphing Spiral  ลักษณะเป็นวงลายก้นหอย ที่คิดจากจุดกลางด้านนอกบางจุดของรูปทรงพื้น ของรูปทรงจากภายนอก ค่อยๆ เปลี่ยนรูปร่างของรูปทรงพื้นที่ ทำให้เป็นวงลายก้นหอย  ของทูลพาธ  หรือ คิดคำนวณจากรูปทรงด้านนอกเป็นพื้นที่แบบเปิด  เข้ามาถึง ผนังภายใน ที่เป็นเกาะตรงกลาง  ด้วยหลักวิธีการคิดนี้  ไอแมชชีนนิ่ง ทูลพาธ  สามารถจัดการตัดเฉือนงาน รูปทรงที่ไม่สม่ำเสมอได้ ด้วย การเดินวนเป็นวงก้นหอยลายเดียว


ไอแมชชีนนิ่ง ทูลพาธ  ใช้คุณสมบัติ การควบคุม  ทิศทางการเดินกัดงานของเครื่องจักรให้ไปทางเดียวด้วยค่าแรงกดคงที่สม่ำเสมอใช้ระยะที่แคบที่สุดในการเปลี่ยนทิศทาง  การแบ่งแยกช่องว่าง และ การเข้ามุมที่แคบ   ในพื้นที่เปิดบางส่วนที่มีรูปร่างที่ซับซ้อน สามารถที่จะทำการกัดงานออกได้สมบูรณ์ด้วยทูลพาธทางเดินเป็นเกลียวเดียว   โปรแกรมจะใช้การวิเคราะห์รูปร่าง และใช้ขั้นตอนวิธีการคำนวณรูปร่างและแบ่งช่องทางที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นพื้นที่ย่อย  และทำการตัดเฉือนเนื้อวัสดุออกโดยการเดินเกลียวแบบเดินวนเป็นวงก้นหอยลายเดียว ( Morphing Spiral ) ให้เหมาะสมแต่ละพื้นที่  การเอาเนื้อวัสดุออกได้สำเร็จมากกว่า 80 เปอร์เซน ด้วยการเดินกัดงานแบบ เดินวนเป็นวงก้นหอยลายเดียว  ที่ถัดมาจาก การเดินแบบทางเดียว  ตั่งแต่เริ่มมีมาของการเดินลักษณะนี้ ทำให้ อัตราการนำเนื้อวัสดุออกด้วยความเร็วสูง ขึ้นมีอัตราเพิ่มขึ้น ได้ระหว่าง 50 -100 เปอร์เซน  เลยทีเดียว และ ด้วยกาเริ่มต้นมีโมดูลไอแมชชียนิ่ง  ที่เป็นโปรแกรมเดียวในอุตสาหกรรมที่คิดค่าของการควบคุมค่าแรงกดให้คงที่เกิดขึ้นกับทูล  ทำให้เกิดความสำเร็จในการทำค่าการตัดเฉือนวัสดุ ( MRR )ในอัตราที่สูงที่สุดในอุตสาหกรรม


เทคโนโลยีตัวช่วยของ ไอแมชชีนนิ่ง
ส่วนสำคัญของระบบ ไอแมชชีนนิ่ง (iMachining) ทุ่มเทให้กับการคำนวณค่าที่เหมาะสมตรงกัน  ของ อัตราป้อนกัดงาน  ความเร็วตัดเฉือน ความลึกของระยะการกัด  มุมเข้าองศาของการตัดเฉือนของทูล  ความหนาของรูปร่างของการคายเศษ   โดยใช้หลักพื้นฐานของข้อมูล วัสดุวิศวกรรม ของชิ้นงาน  และของ คัตติ้งทูล การคำนวณ ทั้งหมดจะ อยู่ภายใต้ ขอบเขตความสามารถของเครื่องจักร   ประกอบด้วย ค่าความเร็วของมอเตอร์ เครื่อง  ค่ากำลังมอเตอร์  ความแข็งแรงของเครื่อง และค่าอัตราป้อนสูงสุด ด้วย เทคโนโลยีตัวช่วยของ ไอแมชชีนนิ่ง  คำนวณการตอบสนองของข้อมูล   โดยการป้อนค่าที่จำเป็นของผู้ใช้งานเลือกใช้งาน ด้วยค่าความหมายที่แบ่งออกเป็น หลายระดับของการ แมชชีนงาน   การเลือกระดับที่สูงต้องเหมาะสมกับสภาพของเครื่องจักรที่ติดตั่งและเงื่อนไขของระบบอุปกรณ์การผลิตที่ต้องการ เช่น คุณภาพ  ตารางงาน และ ต้นทุนของทูล เป็น ต้น


ที่สำคัญเพิ่มเติมสำหรับงานของ เทคโนโลยี ตัวช่วยนี้   นั้นก็ คือ  การปรับเปลี่ยนค่าแบบต่อเนื่อง ของ อัตราป้อนกัด ที่ชดเชยกับปรับเปลี่ยนไปตามการเข้ามุมตัดเฉือนของ ทูล   ด้วยการเดินเกลียวแบบการเดินวนเป็นวงก้นหอยลายเดียว (Morphing Spiral)  และ การควบคุมค่าแรงกดของทูลที่สม่ำเสมอเป็นผลสำเร็จ ทั้งสองส่วนนี้  นั้นเอง ทำให้อายุของทูลที่ใช้ยาวนานขึ้นได้ นั่นเอง.


iNSolid...







อะไรคือสิ่งที่สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของวัสดุสต็อก สำหรับการกัดงาน ด้วยไอแมชชีนนิ่ง โมดูล ?

คำถามที่พบบ่อย



ข้อมูลทั่วไป
ในทุกๆ ชนิดของวัสดุจะมีคุณสมบัติที่มีความแตกต่างกัน  จึงมีค่า แรงตัดเฉือนที่แตกต่างกันในการใช้แรง ตัดเฉือน วัสดุนั้นๆ  คุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุที่กำหนดแรงตัดเฉือน ที่จำเป็นสำหรับการ ตัดเฉือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นค่าแรงดึงสูงสุด  (Ultimate Tensile Strength - UTS)  ที่กำหนดในรูปหน่วย ของ  เมกะปาสคาล  (Mega Pascal - MPa)  ในระบบเมตริก หรือ พีเอสไอ (pound per square inch - psi ) ใน ระบบหน่วยอังกฤษ
ในโปรแกรมตัวช่วยพิเศษของโมดูล ไอแมชชีนนิ่ง ต้องการค่าตัวเลขที่ถูกต้องของ ค่าแรงดึงสูงสุด (UTS) เพื่อให้ผลลัพธ์ของ เงื่อนไขการตัดเฉือนที่ดีที่สุดออกมา  นั้นคือเหตุผลว่าทำไม  คุณต้องแน่ใจให้ได้ว่า ตัวเลข  ค่าแรงดึงสูงสุดที่เราเลือกมากำหนดใช้ลงไป ให้กับโปรแกรม โมดูล ไอแมชชีนนิ่ง เก็บ ฐานข้อมูล คุณสมบัติของวัสดุ นั้น เป็น ค่า ค่าแรงดึงสูงสุด (UTS)  ที่ถูกต้อง

ในโปรแกรม โซลิดแคม ทุกๆ เวอร์ชั่น จะติดตั่งมาพร้อมกับ ฐานข้อมูลของวัสดุที่เป็นพื้นฐาน โดยประมาณ 70 ชนิด ชื่อที่แตกต่างชนิดกันของวัสดุ

ประวัติ
                เมื่อครั้งที่เริ่มพัฒนาตัวช่วยพิเศษของโมดูล ไอแมชชีนนิ่ง  นั้นได้ถูกออกแบบให้ใช้งานค่าคุณสมบัติของวัสดุที่แตกต่างกัน เพื่อใช้ในการคำนวน แรงของการตัดเฉือนเนื้อวัสดุ   คุณสมบัติที่ใช้คือ  ส่วนประกอบกำลังของวัสดุ (Power Factor of the material)   ด้วยการกำหนด ซึ่ง ส่วนประกอบกำลังที่จะตัดเฉือนได้ใน หนึ่ง ลูกบาศก์เซนติเมตร (CC –Cubic Centimeter ) ของวัสดุต่อนาที  ในรูปแบบหน่วยเมตริก ของกิโลวัตต์ (in metric  units of KW)  หรือ หนึ่งลูกบาศก์นิ้วของวัสดุต่อนาที ในรูปแบบหน่วย อังกฤษ ของ  แรงม้า (in English units of HP- Horsepower)

   
หน้าต่างนี้ก็คือ ที่ซึ่งรวบรวมคุณสมบัติทางวิศวกรรมของวัสดุเอาไว้ด้วยพื้นฐานทางกายภาพของวัสดุ ไม่ได้มีแต่เฉพาะวัสดุพื้นฐาน ที่มีมาพร้อมใช้งานในฐานข้อมูล  ดังเช่น  www.matweb.com

            ด้วยเหตุผลนี้ ผู้พัฒนาได้เลือกที่จะสร้าง เงื่อนไขที่ใช้งานคู่ขนานกันไปใน ตัวช่วยพิเศษของโมดูล ไอแมชชีนนิ่ง   นี้หลังจากเริ่มต้นมีในเวอร์ชั่นแรก  ประกอบด้วยการคำนวณค่าเงื่อนไขของการตัดเฉือนโดยใช้ คุณสมบัติ ค่าแรงดึงสูงสุด (UTS) โดยเริ่มต้นจากผู้ใช้งานมีข้อมูลมาตรฐานแบบตารางของวัสดุ โดยใช้ส่วนประกอบกำลัง  ผู้พัฒนาโปรแกรมเลือกที่จะออกจากวิธีการเดิม ของในระบบและให้ตัวช่วยพิเศษได้เลือกใช้งานได้ในแต่ละคุณสมบัติของวัสดุ  โดยเลือกได้ตามการจัดเก็บบันทึกข้อมูลในแต่ละชนิดที่ถูกบันทึกค่าลงไป  ผู้พัฒนาได้เลือกที่จะเปลี่ยนหน้าต่างของการกำหนด วิธีเพิ่มวัสดุลงไปใหม่ได้ โดยที่ค่าที่ต้องการเฉพาะคือ ใช้  เพียงคุณสมบัติ ค่าแรงดึงสูงสุด (UTS) ในการกำหนดในวัสดุ

การกำหนดรายการวัสดุใหม่ในฐานข้อมูลวัสดุ
จะเห็นได้ชัดว่ามากกว่า 70 + ชนิดวัสดุที่มาพร้อมกับโปรแกรมระบบตัวช่วยพิเศษนี้ ไม่สามารถ ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้ลูกค้าทุกคนสำหรับการทำชิ้นส่วนของพวกเขาทั้งหมด  จำได้ว่ามี  มากกว่า 5,000 ชนิดของวัสดุที่แตกต่างกัน ที่ใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งหมายความว่า ผู้ใช้มักจะต้องเพิ่มวัสดุใหม่ไปยังฐานข้อมูลของพวกเขาเองได้




ด้วยหน้าต่างการกำหนดแบบกล่องโต้ตอบของฐานข้อมูลใหม่และการแก้ไข ให้ใช้ค่าเพียงค่า   (UTS)  ก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและง่าย  ในการกำหนดนี้  มีเพียงสองขั้นตอนในการกำหนดที่จำเป็น ครั้งแรก คือ หนึ่ง  ชื่อของวัสดุซึ่งเพียงทำหน้าที่เพื่อช่วยให้คุณระบุการเลือกใช้ วัสดุที่เฉพาะเจาะจงในรายการ ดังนั้นจึงจะต้องมีชื่อ ที่ไม่ซ้ำกัน แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันกับชื่อมาตรฐาน  ขั้นตอนที่สองที่ต้องกำหนดลงไปคือ คุณสมบัติ ค่าแรงดึงสูงสุด  (UTS)   ของวัสดุซึ่ง สามารถหาพบได้อย่างง่ายๆ บน   www.matweb.com


iNSolid...





วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2014

Manufacturing Expo 2014
   

         ในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ มีโอกาสไปร่วมงาน แสดงสินค้าแมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2014 ในระหว่างวันที่ 19 - 22 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา
บรรยากาศในงานโดยรวมก็ มีความ คึกคัก ดี กับ สถานการณ์บ้านเมืองในปัจุบัน จากข้อมูลสรุปผู้เข้าชมงาน มากกว่า 51,563 คน ที่มาในงาน 
         สำหรับ โปรแกรม SolidCAM   ในงานนี้ได้นำโมดูล Mill-Turn สำหรับ ทำโปรแกรม NC- Code ให้ กับเครื่องจักร ประเภท งานกลึง และมิลลิ่งได้ จบงานในเครื่อง เดียว คือเครื่อง i- 42 Ultimate จากบริษัท วี แมคช์ แมชชินเนอร์รี่จำกัด http://www.vmaxmachinery.co.th/



     สำหรับ งานนี้มีผู้ให้ความสนใจเครื่องชนิดนี้เป็น อย่างมาก และด้วยการแนะนำการทำงานร่วมกับการเขียนโปรแกรมระบบ CAD/CAM  ของ SolidWorks+SolidCAM  ที่จะทำให้เห็นการทำงานก่อนส่งเข้าเครื่องเพื่อการผลิตชิ้นงานได้ ต่อไป


       ด้วยความสามารถที่ครอบคุมการทำงานโปรแกรม NC-Code สำหรับ CNC ในท้องตลาดของโปรแกรม SolidCAM ที่ยอดเยี่ยมและน่าประทับใจ ทำให้ผู้ใช้งาน ง่ายต่อการทำงาน ทางทีมงานก็ได้แนะนำ โซลูชั่นที่เหมาะสมให้แก่ผู้ชมงาน ทุกๆท่านตามความต้องการ


      โมดูล ของโปรแกรม SolidCAM ที่ได้มาแสดงในงานนี้คือ โมดูล Mill-Turn ที่มีความสามารถในการทำงานร่วมกับเครื่องที่มี หัวหมุนสอง ด้าน และมี ป้อมมีด กัด กลึงงาน สอง ด้าน ได้ จากรูปด้านล่างจะแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างส่วนประกอบของเครื่องจักร ประเภท Mill-Turn


        ติดตามข้อมูลข่าวสารกิจกรรม ต่างๆอัพเดจเทคโนโลยีจากทีมงานได้ทาง แฟนเพจของ SolidCAMThai กันได้ทาง https://www.facebook.com/solidcamthai?ref=hl


iNSolid...