วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

ไอแมช ชีนนิ่ง ทำในสิ่งที่น่าตื่นตา ตื่นใจให้เห็นอย่างง่ายๆ

iMachining: “Simply Amazing”  

ไอแมช ชีนนิ่ง ทำในสิ่งที่น่าตื่นตา ตื่นใจให้เห็นอย่างง่ายๆ

SolidCAM iMachining  เป็นโปรแกรมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทางด้านงานผลิต (CAD/CAM) ที่ช่วยให้เรา เขียนโปรแกรมซีเอ็นซีสำหรับเครื่องจักรซีเอ็นซี (CNC  Machine) เพื่อ การตัดเฉือนโลหะ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในงานกัด ,งานกลึง และเครื่องจักรประยุกต์ชั้นสูงได้    โปรแกรม SolidCAM  ผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะใช้งานตามประเภทฟังก์ชั่นของเครื่องจักรที่มีได้ โดย เริ่มจาก 2.5 แกน จนถึง ทำงานได้หลายๆ แกน รวมเข้าด้วยกัน (Multi-axis)  และเพื่อตอบสนองความต้องการ สำหรับการผลิตที่มีเพิ่มมากขึ้น  ในตอนนี้ทีมงาน SolidCAM ได้พัฒนาฟังก์ชั่นโมดูล  iMachining  ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพสูง สำหรับงานกัดโดยเฉพาะ

จุดมุ่งหมายของ :  iMachining โมดูล
·        ใช้เทคโนโลยีที่รวบรวมข้อมูลที่สำคัญนำมาใช้ในการสร้างเส้นทางการเดินกัดชิ้นงาน
·        สามารถลดเวลาการผลิตจากวิธีการเดิม ได้  โดยเฉลี่ย  50 % และมากถึง 70 % ได้
·        ทำให้อายุการใช้งานของทูลได้ยาวนานขึ้นได้โดยเฉลี่ย 3 เท่า จากเดิม

หลักการของ โมดูล  iMachining  จะขึ้นอยู่กับสอง ทฤษฎี  คือ
·        วัสดุที่ถูกตัดเฉือนออกโดยเฉลี่ยแล้วที่  65 % จะ มีการเดินกัดสัมผัสงานอย่างต่อเนื่อง โดยการเดินแบบเกลียว
·        ทำให้การเดินทูลกัดงานมีค่าภาระโหลดที่สม่ำเสมอ ( ค่าทูลโหลดมีความคงที่ )

ความต่อเนื่องของการเดินกัดของทูลพารท์ในโมดูล iMachining  จะรักษาระยะของทูลพารท์จากค่าภาระโหลดในระหว่างที่ทำงานเดินตัด

  รูปการเดินกัดแบบทั่วๆไป                         รูปการเดินกัดแบบ    iMachining

ด้วยโมดูล  iMachining  จะทำให้ ผู้ใช้งาน เริ่มต้นกัดงานครั้งแรก ได้อย่างถูกต้อง และทุกๆ คนสามารถทำได้อย่างเสมือน มีผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำเทคโนโลยีการตัดเฉือนโลหะ โมดูล  iMachining จะช่วยเสนอแนะ คิดข้อมูลอัตราป้อนกัดและสร้างเส้นทางการเดินกัดที่เหมาะสมให้ เพื่อใช้ในการกัดงาน  สิ่งนี้ทำให้โมดูล  iMachining  เป็นเทคโนโลยีทางด้านการผลิต ที่ช่วยแนะนำปรับตั้งค่าอัตราการตัดเฉือนตัวแรกๆ ในโลกการผลิต ที่เหมาะสำหรับทุกๆ คนที่ทำงาน ผลิตชิ้นงานด้วย เครื่องจักรซีเอ็นซี


องค์ประกอบที่สำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาในการทำงานกัดประกอบด้วย  รูปร่างของชิ้นงาน , คุณสมบัติของวัสดุ,  คุณสมบัติของทูล , อัตราป้อนกัด , ความแข็งแรงของเครื่องจักร และความสามารถของตัวควบคุมเครื่องจักรที่มีความสามารถสูง  ทั้งหมดนี้คือหลักเกณฑ์ของเทคโยโลยีการกัดงาน ที่ผู้ทำงานในอดีตต้องทราบกันดี สิ่งเหล่านี้ก็คือข้อมูลที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย  ทั้งหมดนี้ นำมารวบรวมให้อยู่ใน โมดูล  iMachining   เพื่อช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น

  รูปการเดินกัดแบบทั่วๆไป                             รูปการเดินกัดแบบ  iMachining

การทำงานของ โมดูล  iMachining
เป้าหมายขั้นพื้นฐานของโมดูล   iMachining  คือการใช้ อัตราป้อนกัดในความคิดอุดมคติ เพื่อที่จะรักษาระยะมุมเข้ากัดงานของทูลให้อยู่ในระยะที่กำหนด  ดังนั้น จะให้ผลของค่าโหลดทูลที่เป็นไปได้อย่างเท่าๆกัน และ เมื่อระยะมุมตัดเฉือนมีความเป็นไปไม่ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะที่ทูลเดิน เข้ากัดงานและทูลเดินออกจากชิ้นงาน จากนั้นโมดูล  iMachining  จะทำการคำนวณทางเดินกัดและทำการปรับแต่งค่าเงื่อนไขอัตราป้อนกัดให้เส้นทางการเดินของทูลเพื่อตัดเฉือนชิ้นงานด้วยค่าที่ยอมรับได้  ในขณะทูลตัดจะส่งผลให้ได้การคายเศษที่เท่าๆกัน   ทำให้การสั่นสะเทือนในขณะกัดงานมีน้อยที่สุด   ลักษณะ เส้นทางการเดินตัด แบบนี้  คำนวณโดยการแบ่งค่าระยะมุมกัดของทูลให้เท่าๆ กัน ให้มากที่สุด

ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ระดับการทำงานจากระดับ 1-8  ของการเดินกัดงาน  ให้ใช้ความสามารถของเครื่องจักร ซีเอ็นซี ตามสภาพ และตามที่ตั้งค่าไว้  ดังนั้น จะทำให้ได้ผลผลิตตามที่เกิดขึ้นจริง   โปรแกรมนี้เป็นลักษณะคำแนะนำสำหรับการตัดเฉือน ค่าตัวเลข การคำนวณอัตราป้อนกัดจะแสดงผลให้กับผู้ใช้งาน เลือกใช้  ค่าเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยผู้ใช้งาน  โดยคำนึงถึงค่าของเครื่องมือ  เครื่องจักรและวัสดุ, การทำงานแบบอัตโนมัติจะได้รับข้อแนะนำ สำหรับการตั้งค่ากับ โมดูล  iMachining   เป็นวิธีลดเวลาการเตรียมโปรแกรม ให้ใช้เวลาน้อยที่สุด   ‘’การจำลองการทำงาน‘‘  บนโปรแกมจะช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับเครื่องจักรได้และได้การตัดเฉือนตรงตามความต้องการ
มีความสามารถสั่งทำงานแบบ มัลติ พ็อกเก็ต ได้โดย การสั่งงานเพียงครั้งเดียว

การควบคุมการทำงานที่ง่ายและมีรูปแบบที่ดี
การควบคุมการทำงานในโมดูล  iMachining  ใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งทำตามขั้นตอนเหล่านี้
1.     เลือกโมเดลรูปร่างที่ต้องการสำหรับการตัดเฉือน
2.     การเลือกใช้เครื่องทูล End Mill
3.     การตั้งค่าและการกำหนดรูปแบบการเดินกัดที่จะใช้งาน 
4.     การคำนวณเส้นทางเดินตัด โดยคำนึงถึง เงื่อนไขดังต่อไปนี้
ü ค่าตัวแปรของเครื่องจักร
ü คุณสมบัติของทูล วัสดุของทูล ,ความยาวทูล, เส้นผ่านศูนย์กลางทูล,จำนวนฟันของทูลและมุมเกลียวของทูลที่จะใช้งาน 
ü การกัดหยาบ  ,ก่อนละเอียด ,การเก็บละเอียด 
ü คุณสมบัติของวัสดุชิ้นงานที่จะนำมาขึ้นรูป
ü รูปร่างของชิ้นงาน


รูปแบบการเดินของ iMachining  แบบ Morphed Spirals  ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของการตัดเฉือนได้

บทสรุป
iMachining โมดูล ได้พิสูจน์ในความสามารถที่ช่วย ลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมากในงานกัดมิลลิ่ง  โมดูล  iMachining ทำให้ผู้ใช้งานมีโอกาสที่จะนำวิธีการคิดแบบใหม่มาทำงาน  โดยการใช้เทคโนโลยีการผลิตและนวัตกรรมเข้ามาช่วย  ได้อย่างคุมค่ามากที่สุด
SolidCAM  iMachining : Technology & Innovation for life



By iNSolid...






วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

การทำงานของ Machining level slider

คำถามที่พบบ่อย 





อะไรคือ หน้าที่ของตัวเลื่อนระดับ โหมดการแมชชีนนิ่ง ?

ในการเลือกใช้งานตัวเลื่อนระดับโหมด การแมชชีนงาน ในหน้าต่างของโปรแกรม ตัวช่วยแบบพิเศษ ของโมดูล ไอแมชชีนนิ่ง ผู้ใช้ โมดูล ไอแมชชีนนิ่ง  จะมีความสะดวกและเพื่อช่วยใช้ในการตัดสินใจ เลือกการควบคุมอัตราการกำจัดวัสดุ (Material Removal Rate -MRR) ผ่านตัวเลื่อนระดับการแมชชีน เมื่อจะทำการกัดงาน   ระดับโหมดการแมชชีน ที่เลือกโดย ผู้ใช้ที่ผ่านตัวเลื่อนระดับโหมด การแมชชีน   จะใช้กำหนดระดับความมากหรือน้อยของการทำงานกัดงาน

สำหรับผู้ใช้งานทุกๆ คน ที่มีประสบการณ์  การกัดงาน สามารถเพิ่มความเร็วอัตราป้อนกัดได้อีก 10% โดยไม่ต้องเปลี่ยนอะไรก็ได้ ที่จะทำให้เพิ่มความเร็วของอัตรา  การกำจัดวัสดุ (Material Removal Rate -MRR)  เพิ่มได้อีก 10%  (ความจริงแล้วจะสูญเสียเวลาไปเพียงเล็กน้อยอันเนื่องจากการเคลื่อนที่เร็วและใช้เวลาน้อยในอัตราการเร่ง)  โดยประมาณ การเพิ่มขึ้น ของความเร็ว  สามารถทำได้โดยการเพิ่มระยะการเดินกัดด้านข้าง ทูล ทีละ 10%  นอกจากนี้ผู้ใช้ จะรู้ได้ว่าการปรับเพิ่มเหล่านี้ อาจจะส่งผลข้างเคียงเชิงลบ  เช่น การเพิ่มแรงถ่วงมากเกินแรงบิดสูงสุดของ สปินเดิล ของเครื่อง หรือ ที่เกี่ยวข้องกับการลด อายุการใช้งานของทูลที่เป็นผลมาจากการเพิ่มความหนาของ การกัดงาน  (ความหนาเศษ) ที่สูงขึ้นนั่นเอง

จากผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ การกัดงาน จะรู้ได้เลยว่าวิธีการเพิ่มทั้ง อัตราป้อนกัดงานและ ความเร็วสปินเดิลอีก 10% จะทำให้เพิ่มความเร็วของอัตราการกำจัดวัสดุ (Material Removal Rate -MRR)   ได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงความหนาของ การกัดงาน  (ความหนาเศษ)  แม้ว่าจะเพิ่มความเร็วในการตัด ไปอีก 10%  และเรียกใช้กำลังของหัวหมุน สปินเดิลเพิ่มอีก   ถ้าผู้ใช้งานรู้ว่าเครื่องจักรมีกำลังที่สูงกว่าที่มีอยู่  ประกอบกับการมีระบบทำความเย็นของ งานที่ดีพอ  เครื่องมือทูลมีความคมพอและมีสถาพผิวเคลือบทูลยังคง เหมือนเดิม  ผู้ใช้งานอาจจะกล้าที่จะทำการเพิ่มความเร็วตัดได้อีก  และจะทำให้ลดรอบเวลาการกัดงานได้  ถ้าผู้ใช้งานเป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆ  ผู้ใช้งานก็จะรู้ได้ ว่ามีความน่าจะเป็นของทูล จะทำงานได้ดีกว่า วิธีการแบบเดิมที่ผ่านมา  กว่าในเมื่อก่อน  นั้นคืออาจเลือกที่จะให้ทำงานเร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อกำหนดของ ตารางงานที่แน่น,  คือจะรู้ได้ว่าเครื่องมือทูลเพียงพอที่จะทำงานให้เสร็จได้.

ในทางกลับกัน ถ้าเสียงของการกัดงานตัดเฉือน เริ่มบ่งชี้  ว่ามีอาการของการสั่นสะเทือน หลังจากมีการปรับเพิ่มอัตราการป้อนกัดงานขึ้นของเครื่องจักร  โดยผู้ใช้ที่มีประสบการณ์จะต้องปรับโปรแกรมกลับไปที่เงื่อนไขอัตราป้อนกัดงานแบบเดิม  ตามสภาพงานของเครื่องจักรในครั้งแรก  (ลักษณะความแข็งแรงของ เครื่องจักรและการจับยึดของเครื่องมือตัด)  ถ้าตรวจสอบดูแล้วว่าความแข็งแรงมีไม่เพียงพอสำหรับ การทำงานแบบความเร็วตัดที่สูงมากๆ



ด้วยตัวของเทคโนโลยีช่วยในการตัดสินใจ แบบพิเศษเหล่านี้เอง  ด้วยการทำงานแบบมีเหตุผล โดยพื้นฐานของการวิเคราะห์  ของอัลกอริทึมที่วิเคราะห์แบบทั้งชุด   ด้วยคุณสมบัติและข้อจำกัด  ของลักษณะสถาพแวดล้อมของการทำงาน (รูปร่างของชิ้นงาน , คุณสมบัติของวัสดุ , อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ และข้อจำกัดของคุณสมบัติของเครื่องจักร ).  ฐานข้อมูลความรู้แบบตัวช่วยพิเศษ ช่วยสร้างการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ของข้อมูลที่สำคัญ ระหว่างปัจจัยเหล่านี้ทั้งหมด ที่จะแนะนำค่าการตัดเฉือนที่ดีที่สุดใช้ในการกัดงาน  ด้วยการทำงานของเงื่อนไข อัลกอริทึ่ม  ของ โมดูล iMachining ทูลพาร์ทอัจฉริยะสร้างเส้นทางเดินกัดความเร็วสูงเพื่อการผลิต ที่อยู่ในมือของผู้ใช้ เพื่อทำให้ ได้ ค่าที่เหมาะสม  มีความเร็ว และ ปลอดภัยสูง ในการทำโปรแกรมกัดงาน ไปยังเครื่องซีเอ็นซี ที่เป็นส่วนหนึ่งในการส่งมอบชิ้นงาน ได้เป็น ผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ



แต่อย่างที่เราได้ทราบในข้างต้น มีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำงาน  การกำจัดวัสดุ (Material Removal Rate -MRR)   และอายุการใช้งานของทูล  (เช่นความแข็งแรงพื้นฐานของเครื่องจักรที่ทำงาน และการจับยึดชิ้นงานเครื่องมือถือทูล และ ระดับของการบำรุงรักษาเครื่องจักร)  เช่นเดียวกับที่ต้องการ กำจัดวัสดุ (MRR) ที่สูง และอายุการการใช้งานของทูลที่ยาวนานขึ้นจากตารางการผลิตและโครงสร้างค่าใช้จ่ายของคุณที่มี   เป็นเรื่องยากที่จะคำนวณจำนวนได้ถูกต้อง แต่ด้วยเทคโนโลยีตัวช่วยสร้างพิเศษนี้ ให้เลือกเลื่อนระดับการทำงานกับเครื่องจักร,  ช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างง่ายดายและรวบรวมปัจจัยต่างๆเหล่านี้ ไปใช้ในขั้นตอนการตัดสินใจเลือกเงื่อนไขการกัด ของชิ้นงาน  เพื่อการผลิตต่อไป

ค่าระดับโหมด การแมชชีน  เริ่มต้น

ด้วยวิธีการที่ถูกต้องของการใช้ ตัวเลื่อนระดับโหมด การแมชชีน  ใช้ในการกำหนดระดับความเร็วการกัดงาน คือการกำหนดใช้ในแต่ละ โรงงานในการเลือกใช้งานในเชิงปฏิบัติการที่มีมาตรฐานของระดับของเครื่องจักร ซึ่งดูจาก ความแข็งแรงของเครื่องจักรขั้นพื้นฐานและการบำรุงรักษาเครื่องจักร นั้นๆ

การกำหนดระดับเริ่มต้นค่าที่จะใช้งาน   การกำหนด ไม่ควร นำตัวเลขมาจาก อัตราความเร็ว, พลังงานมอเตอร์ หรือความสามารถในการทำอัตราเร่งความเร็วของเครื่องจักรมาใช้  พารามิเตอร์เหล่านี้เป็น ข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลโปรแกรมที่ป้อนเข้าไป การกำหนดระดับเริ่มต้นที่จะใช้งาน  วิธีหาค่าเริ่มต้นทำงานควรจะ  ดูแนวโน้มในการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร ,การดูแลรักษาเครื่องจักร  ความแข็งแรงของเครื่อง , อายุของเครื่องจักร   เครื่องที่เก่ามาก การบำรุงรักษาไม่ดี  โครงสร้างเครื่องดูไม่แข็งแรง  ให้กำหนดใช้ค่าเริ่มต้นที่ต่ำมากโดยใช้  ระดับ: ระหว่าง 2 ถึง 4  เครื่องที่สร้างใหม่ และแข็งแรง ควร ได้รับการกำหนดค่าเริ่มต้นในระดับที่สูง  เราขอแนะนำให้ใช้ ระดับ  "6 เทอร์โบ"  (ดูรายละเอียดของโหมดเทอร์โบ ในหัวข้อถัดไป)  ยังจะพอมีทางที่จะผลักดันให้ขึ้น ไปถึงระดับ 7 หรือ 8 เทอร์โบโหมด ได้  หลังจากการฟังเสียงการตัดครั้งแรก และได้งานที่สมบูรณ์แบบ ถ้าคุณจำเป็นต้องกัดงาน เพียงชิ้นเดียว  ถ้าความแตกต่างของระยะเวลาการกันงานชิ้นเดียวไม่เป็นเรื่องจำเป็น บ่อยๆ

ระดับโหมด การแมชชีน  ของ เครื่องจักรนี้เริ่มต้น  ที่กำหนดไว้เพียงครั้งเดียว และจะถูกเก็บไว้ใน ฐานข้อมูลในโปรแกรมพร้อมทั้งพารามิเตอร์อื่น ๆ อย่างเช่น  (อัตราเร่งสูงสุด ,อัตราป้อนฟีดสูงสุด, Spindle Speed, ฯลฯ ) คุณจะต้อง ปรับปรุงระดับเริ่มต้นระดับโหมด การแมชชีน  นี้ในทุก 2-3 ปี แลหลังจากที่เกิดการชนหรือที่สำคัญมีการบำรุงรักษาเครื่องจักร


เตรียมโปรแกรม ซีเอ็นซี สำหรับการติดตั้งโปรแกรมใหม่

ก่อนที่จะใช้ โซลิดแคม โมดูลไอแมชชีนนิ่ง ในการสร้าง โปรแกรมซีเอ็นซี  หลังการติดตั้งโปรแกรมใหม่  คุณต้องทำการประเมินความแข็งแรงของการจับยึดชิ้นงานและการจับยึดเครื่องมือทูลและ ตรวจวัดความสมดุลและค่าบ่งชี้จริงของทูลกับตัวจับยึด   (TIR - True Indicator Reading การอ่านค่าบ่งชี้จริง)  ถ้าการจับยึดไม่ดี      ให้ลดระดับการใช้ ระดับโหมด การแมชชีน  การทำงานของเครื่องจักรกล โดยใช้ระดับ  1 หรือ 2  จาก ระดับเริ่มต้นโปรแกรมของเครื่อง


การใช้ระดับโหมด การแมชชีน  โดยการใช้ผลจากการทำงานตัดชิ้นงานในครั้งแรก  ให้ฟังเสียง ของการตัดเฉือนชิ้นงาน และการประเมินผลที่เกิดขึ้นได้ของคุณภาพพื้นผิวและการสึกหรอของทูล  หากมีชิ้นงานเป็นจำนวนมากในการตัดเฉือนและการตัดเฉือนก่อนหน้านี้ มีคุณภาพที่ดี  คุณอาจจะต้องการที่จะเพิ่ม การกำจัดวัสดุ  (Material Removal Rate -MRR)  ให้เพิ่มขึ้นหรือลดมันลง เพื่อที่จะได้อายุของทูลที่ยาวขึ้น  ขึ้นอยู่กับ ตารางงาน ของคุณ จำนวนทูลที่มีและโครงสร้างค่าใช้จ่าย  ทั้งหมดที่คุณต้องทำคือ การเลื่อนย้าย ระดับโหมด การแมชชีน  เลื่อนตำแหน่งขึ้นหรือลง  สั่งคำนวณโปรแกรมใหม่ สร้าง เส้นทางเดินกัดใหม่ และทำการกัดชิ้นงาน ต่อไป.

ข้อควรจำ
ด้วยเหตุผลว่าทำไม  ตัวช่วยพิเศษ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มระดับโหมด การแมชชีน  ที่จะกัดงานให้เร็วที่สุดที่เป็นไปได้ อย่างชาญฉลาด  จะให้ ผู้ใช้งาน กำหนดค่าสำหรับค่าเงื่อนไขการกัดงาน  ที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยได้โดยใช้ ค่าล่างสุดจาก จุดสูงสุดที่มี  โดยมีอัตราที่เหมาะสม  ทำให้ออกจากความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการกัดงานได้มากขึ้น

แต่ข้อควรระวังความเสี่ยงที่เป็นจริง ระดับโหมด การแมชชีน  เริ่มต้นสำหรับเครื่องจักร โปรแกรม ได้รับการตั้งค่าตามการประเมิน สภาพตามข้อมูล การประเมินอาจจะไปในทางที่ดีและอื่น ๆ  อาจจะมีการประเมินประกอบ ด้วยวิธีการจับยึดชิ้นงานและการจับยึดของทูลที่ใช้


iNsolid...