วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการเชื่อมต่อกันระหว่าง คน และเครื่องมือ (Software)


ประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการเชื่อมต่อกันระหว่าง คน  และเครื่องมือ (Software)
iMachining by SOLIDCAM 2015 : “Power of Connection”  
          เมื่อเรานึกถึงการทำงานด้านต่างๆ ที่ต้องมีการประสานงาน และส่งต่อการใช้งาน ข้อมูลที่จำเป็นและมีส่วนที่สำคัญเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานต่างๆ ในงานประเภทที่ต้องใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ CAD (CAD – Camputer Aided Design ) ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกันดี ก็คือ โปรแกรม SOLIDWORKS  และด้วยการทำงานที่ต่อเนื่อง สามารถส่งต่อ ข้อมูลได้ หลากหลาย  การส่งต่อข้อมูลมาให้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยผลิตชิ้นงานประเภท CAM  (CAM – Computer Aided  Manufacturing )  จากนั้นส่งต่อไปยังเครื่องจักร CNC Machine ให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง เพื่อใช้ในการผลิตชิ้นงาน  ด้วยข้อมูลที่จำเป็นในการทำงานมีความหลากหลายและมีเป็นจำนวณมากๆ สิ่งนี้ทำให้โปรแกรม SOLIDCAM โมดูล  iMachining  เป็นเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต ที่จะช่วยเชื่อมต่อ คำนวณข้อมูลที่สำคัญส่งออกมาแนะนำ การใช้ค่าอัตราการตัดเฉือนให้ใช้งาน ในโลกของการผลิต ที่เหมาะสมได้สำหรับทุกๆ คนที่ต้องใช้งานโปรแกรม ด้าน CAD/CAM และ เครื่องจักรซีเอ็นซี ผลิตชิ้นงาน


  
     จากการทำงาน ที่ผ่านมาในอดีต  การทำงานด้าน การใช้ โปรแกรม CAD/CAM และ เครื่องจักรซีเอ็นซี ผลิตชิ้นงานนั้นต้องอาศัย ข้อมูล จาก ผู้ชำนาญ และมีประสบการณ์มากๆ  มาใช้ เพื่อให้การทำงานได้ ผลลัพธ์ที่ดี

      ด้วยการทำงานที่จะต้องประกอบไปด้วยข้อมูลที่สำคัญคือ  รูปร่างของชิ้นงาน , คุณสมบัติของวัสดุคุณสมบัติของทูล , อัตราป้อนกัด , ความแข็งแรงของเครื่องจักร และความสามารถของตัวควบคุมเครื่องจักรที่มีความสามารถสูง  ทั้งหมดนี้คือ ข้อมูล ที่ผู้ทำงานต้องใช้งานและต้องมีอยู่ในที่ทำงาน ประจำวัน สิ่งเหล่านี้ก็คือข้อมูลที่ต้องนำมาใช้งานจริงจึงจะทำให้ได้ผลลัพธ์ ของการ ผลิตได้ ดีนั้น และด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นคือไม่สามารถหาข้อมูลและเชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมดนั้นเอง



   ดังนั้นทั้งหมดนี้ จึงถูกนำมารวบรวมให้อยู่ใน โปรแกรม SOLIDCAM โมดูล  iMachining  เพื่อช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกันและคำนวณออกมาให้ ผู้ใช้งานได้ อย่างสะดวก ออกมาเป็น ค่าการตัดเฉือนที่เหมาะสม



     การทำงานของ โมดูล  iMachining
หลักการพื้นฐานของโมดูล   iMachining  คือการใช้ อัตราป้อนกัดที่เหมาะสมในความคิดอุดมคติ เพื่อที่จะรักษาระยะมุมเข้ากัดงานของทูลให้อยู่ในระยะที่กำหนด  ดังนั้น จะให้ผลของค่าโหลดทูลที่เป็นไปได้อย่างเท่าๆกัน และ เมื่อระยะมุมตัดเฉือนทำไม่ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะที่ทูลเดิน เข้ากัดงานและทูลเดินออกจากชิ้นงาน จากนั้นโมดูล  iMachining  จะทำการคำนวณทางเดินกัดและทำการปรับแต่งค่าเงื่อนไขอัตราป้อนกัดให้เส้นทางการเดินของทูลเพื่อตัดเฉือนชิ้นงานด้วยค่าที่ยอมรับได้  ในขณะทูลตัดจะทำให้ได้การคายเศษที่เท่าๆกัน   ทำให้การสั่นสะเทือนในขณะกัดงานมีน้อยที่สุด   ลักษณะ เส้นทางการเดินตัด iMachining Toolpath แบบนี้  คำนวณโดยการแบ่งค่าระยะมุมกัดของทูลให้เท่าๆ กัน ให้มากที่สุด



ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ระดับการทำงานจากระดับ 1-8  ของการกัดงาน  ใช้ความสามารถของเครื่องจักร ซีเอ็นซี ตามที่ตั้งค่าข้อมูลไว้  ดังนั้น จะทำให้ได้ผลผลิตตามที่เกิดขึ้นจริง  


การควบคุมการทำงานที่ง่าย
การทำงานในโมดูล  iMachining  ใช้งานได้รวดเร็ว ซึ่งมีขั้นขั้นตอน ดังนี้
      -  กำหนดโมเดลรูปร่างที่ต้องการสำหรับการตัดเฉือน
     - การเลือกใช้เครื่องทูล End Mill
     - การกำหนดรูปแบบการเดินกัดที่จะใช้
     -  ผู้ใช้งานกำหนดเงื่อนไข โดยคำนึงถึง สภาพตามจริงที่หน้างานประกอบการเลือกใช้


โมดูล iMachining จะช่วยให้ผู้ใช้งานทำงานได้ รวดเร็ว และช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมากในงานกัดมิลลิ่ง   ทำให้ผู้ใช้งานมีวิธีการทำงานแบบใหม่ๆ   โดยการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เชื่อมต่อข้อมูลเข้าถึงกันในทุกๆ ส่วนงานเข้ามาช่วย  ได้อย่างครบถ้วนมากที่สุด
และส่งนี้คือการเพิ่มผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ ด้วยประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการเชื่อมต่อกันระหว่าง คน  และเครื่องมือ (Software)

by  iNSolid