วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เราจะตัดสิน คุณภาพของการตัดเฉือนได้อย่างไร ?

คำถามที่พบบ่อย 





เราจะตัดสิน คุณภาพของการตัดเฉือนได้ โดย การฟังจากเสียงระหว่างการตัดเฉือนและใช้สายตา และ ความรู้สึกของ การตัดเฉือน ได้อย่างไร ?

กระบวนการตัดเฉือนที่สมบูรณ์ และ ดี คือ ต้องไม่มี การสั่นสะเทือน เกิดขึ้นในระหว่าง การตัดเฉือน ฉะนั้นถ้าเสียงที่ออกมาระหว่าง การตัดเฉือนนั้นให้ความรู้สึกถึงว่าอาจเกิดแรงสั่นสะเทือน นั้นหมายความว่าการตัดเฉือนในขณะนั้นมีแรงสั่นสะเทือน

ตัวอย่าง วิดีโอ กระบวนการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยการตัดเฉือนโลหะ GUEHRING tools and iMachining





ถ้าเราได้ยินเสียงเหมือนเสียงหวีดดัง ลักษณะ คล้ายกับเบรกของรถไฟ นั้นคือว่าเรากำลังใช้การตัดเฉือนได้ไม่ดี  นั้นคือ ชิ้นงาน และทูลกำลังเกิดความร้อนสะสมขึ้น (คือการใช้ระบบคายความร้อนที่ไม่ดี ใช้ การตัดเฉือนที่ระดับสูงเกินไป หรือ ใช้ทูลที่คุณภาพไม่สูงที่มีราคาถูก) 

ถ้าเราเห็นสะเก็ดไฟ ออกมาในระหว่าง การตัดเฉือนนั้น ก็หมายความว่า เศษของการตัดและทูลเกิดความร้อนสูงและใช้ความเร็วตัดเฉือนที่สูงมาก หรือ ใช้ระบบระบายความร้อนไม่ดี

ในตอนสุดท้ายของขั้นตอนการตัดเฉือน ชิ้นงาน ชิ้นงานควรจะไม่ร้อน ในการทำงานแบบความเร็วตัดเฉือนที่สูง  ความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นควรจะถูกระบายออกมาพร้อมกับ เศษของการตัด ในระหว่างกระบวนการตัดเฉือนนั้นๆ ทั้งนี้ เมื่อค่าการตัดเฉือนที่สมบูรณ์ และการใชระบบระบายความร้อนที่ดี ชิ้นงานเมื่อทำการตัดเฉือนเสร็จแล้วจะไม่มีความร้อนสะสมจะเย็นเร็ว หลังจากขั้้นตอนการตัดเฉือนงานจบลง


By iNSolid...




วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ความแตกต่างระหว่างความหนาของเศษกัดและค่าภาระโหลดที่กระทำกับเศษกัดคืออะไร...?

คำถามที่พบบ่อย  






ความแตกต่างระหว่างความหนาของเศษกัดและค่าภาระโหลดที่กระทำกับเศษกัดคืออะไร...?
ความหนาของเศษกัด
ใน iMachining ความหนาของเศษกัด (CT)  สามารถอธิบายได้คือ เป็นความหนา (จุดที่กว้างที่สุด) ของเศษกัดชิป ที่จุดเปลี่ยนรูปร่างไปจนถึงจุดที่ถูกตัดออกไปจากวัสดุ  ในหน้าต่างโปรแกรมตัวช่วยสร้างเทคโนโลยีค่า CT  จะแสดงผลในมุมมองที่ 2 ของเอาท์พุท ของข้อมูลค่าการตัดเฉือน

ค่าภาระโหลดที่กระทำกับเศษกัด
เพื่อไม่ให้สับสน  ระหว่าง ความหนาของเศษกัด  ตัวค่าภาระโหลดที่กระทำกับเศษกัด จะกำหนดด้วยอัตราการป้อนของทูลที่วัดในหน่วยของระยะทางอัตราป้อนกัดต่อฟัน  (Fz (มม / ฟัน) ในหน่วยเมตริก หรือ Fz (นิ้ว /ฟัน) ในหน่วยที่เป็นระบบอังกฤษ) ค่า Fz สามารถดูได้ในแท็บข้อมูลของหน้ากำหนดความเร็วตัดของทูล


ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาของเศษกัดและค่าภาระโหลดที่กระทำกับเศษกัด
โดยปกติแล้วเราจะได้เห็นค่าที่เท่ากัน  ระหว่างความหนาของเศษกัดและค่าภาระโหลดที่กระทำกับเศษกัด ก็คือเมื่อ ค่าองศามุมตัดที่ 90° องศา  และถ้าเมื่อค่ามุมองศาที่น้อยกว่า 90° จะทำให้ความหนาของเศษกัดมีความบางมากกว่าค่าภาระโหลดที่กระทำกับเศษกัดที่เกิดขึ้น  ส่งผลให้เราไม่สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงค่าภาระโหลด


อย่างไรก็ตามในการคำนวณของ  iMachining  ด้วยการ เดินกัดแบบเกลียว morphing จะถูกสร้างขึ้นตามระยะมุมองศาการตัดเฉือนที่แตกต่างกัน การตัดที่มุม องศาแบบไดนามิกที่สามารถ คำนวณใช้ได้ระหว่าง10° และ 80° ขึ้นอยู่กับการเลือก ระดับการใช้ระดับการกัดงานที่เลือก  เพื่อการชดเชยมุม องศาแบบไดนามิกที่แตกต่างกัน  ตัวโปรแกรมจะทำการปรับเพิ่มอัตราป้อนกัดให้โดยอัตโนมัติในทุกๆ จุดตามเส้นทางการเดินกัด เพื่อที่จะรักษาความหนาของเศษกัดที่ระบุไว้ ซึ่งให้ค่าตรงกับค่าภาระโหลดที่กระทำกับเศษกัดเดิมที่แสดงตามรูปด้านล่าง


ด้วยการเชื่อมต่อการคำนวณอัตโนมัติของค่าองศาเหล่านี้และค่าอื่น ๆ ทำให้เงื่อนไขการตัดเฉือนสม่ำเสมอ อยู่ในค่าที่ดีที่สุดทำให้การควบคุมภาระโหลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในทูล สามารถทำได้

By iNSolid...






วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เรากำหนดเงื่อนไขการตัดเฉือนในงานมิลลิ่ง ในโมดูล iMachining ได้อย่างไร ?

คำถามที่พบบ่อย  






เรากำหนดเงื่อนไขการตัดเฉือนในงานมิลลิ่ง ในโมดูล iMachining  ได้อย่างไร ?
ด้วยตัวช่วยแบบพิเศษ ทำให้การปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการตัดเฉือนเป็นไปอย่างรวดเร็ว

พื้นฐานพารามิเตอร์ตัวแรกสุดของการคำนวณเงื่อนไขในการตัดเฉือนคือ ความเร็วในการตัด (VC) หลังจากที่ตัดสินใจเลือก  Vc, ความเร็วหัวหมุนสปินเดิล (S (วัดหน่วยเป็น RPM)) จะสามารถคำนวณได้อย่าง ง่ายๆ ถ้า คุณรู้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง (D) ของทูลคำนวณด้วยสูตร (S = Vc / πD)  เมื่อคุณรู้ค่า  Vc  และ D และ S,  ถัดไปคือการกำหนด ความหนาเศษ (CT-chip  thickness) ซึ่งถูก กำหนด ด้วยค่ากำลังสูงสุดของหัวหมุนสปินเดิลที่เครื่อง ซีเอ็นซีมีอยู่ และคุณภาพของทูล, ความแข็งแรงของทูล  โดยปกติผู้ผลิตทูลมิลลิ่ง จะเผยแพร่ข้อมูลแนะนำให้ไว้  สำหรับแต่ละ ทูลที่จะกัดงานทำความหนาเศษ (CT) ได้สูงสุดในแต่ละประเภทวัสดุ เมื่อความหนาเศษ (CT-chip thickness) ได้รับการกำหนด,ค่าอัตราป้อนกัดงาน (F-Feed) เราจะสามารถคำนวณค่าการตัดเฉือนออกมาได้ตรง

คำถามที่สำคัญก็คือ จะทำอย่างไรให้คุณตัดสินใจเลือกใช้ค่า Vc  ? ได้อย่างเหมาะสม  ความจริงที่น่าแปลกใจก็คือว่า สิ่งที่ตรงกันข้าม กับความเชื่อที่ว่า ไม่มีข้อมูลไหนจะแน่ใจได้เลยว่าได้เป็นค่าที่ถูกต้อง  ค่า VC  ที่กำหนดมาสำหรับวัสดุนั้นๆ  เป็นค่าอย่างต่ำ ที่ไม่ใช่การกัดงานด้วยความเร็วสูง  (HSM - High Speed Milling)

ถ้าคุณมีทูลที่มีคุณภาพสูง ที่มีการเคลือบที่เหมาะสมสำหรับกัดงานวัสดุนั้นๆ  มีเครื่องจักรที่แข็งแรงมากและการตั้งชิ้นงานและการระบายความร้อนที่ดีมาก คุณสามารถที่จะตัดเฉือนวัสดุได้ที่ความสามารถของเครื่องสูงสุดได้  ถ้า ในกรณีที่เส้นทางเดินตัดของทูลมีการเดินต่อเนื่องและ ภาระความร้อนที่ทูลรักษาไว้ได้คงที่ตลอด

ตัวอย่างเช่น  ส่วนใหญ่ผู้ผลิตทูลมิลลิ่งนี้ จะแนะนำให้ตัดเฉือนวัสดุ  Ti - 6Al - 4V  ที่ 50-60 เมตรต่อนาที และด้วยใช้โมดูล iMachining กับเส้นทางเดินกัดงาน ผู้ใช้งานกำหนดข้อมูลครบ ถ้วย มีเครื่องจักรที่แข็งแรงและเร็ว ทูลที่เหมาะสมและการระบายความร้อนที่ดี  จะทำให้เราประสบความสำเร็จในการมิลลิ่งตัดเฉือนวัสดุ  Ti - 6Al - 4V ได้ที่ความเร็ว  250 เมตรต่อ นาทีได้!

หมายความว่าอย่างไร ?  ก็หมายความว่าถ้ามีเส้นทางการเดินทูลที่ดี  Cutting tool ทูลที่ดีกับเครื่องจักรและการตั้งชิ้นงานที่ดี พร้อมมีระบบระบายความร้อนที่ดี คุณจะสามารถตัดเฉือนได้ทุกวัสดุ ที่ความเร็วสูง ได้ จะทำได้มากกว่าความเชื่อของผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์

เราสามารถตัดเฉือนได้ที่ความเร็วตัดใด ๆ ก็ได้  แต่ความร้อนและการสั่นสะเทือนจะสร้างปัญหา.

สำหรับตัวอย่าง หากทุกอย่างสมบูรณ์แบบ เช่น เราสามารถตัดเฉือนไทเทเนี่ยมได้ที่ความเร็ว จาก 50 เมตร / นาที ไปถึง 500 เมตร / นาที

แต่เมื่อความเร็วตัดเฉือนเพิ่มมากขึ้น  การสั่นสะเทือน  ความร้อน และความต้องการกำลังมอเตอร์สปินเดิลเพิ่มมากขึ้น  เมื่อการสั่นสะเทือนเพิ่มขึ้น  การสึกหรอของทูลก็จะเพิ่มขึ้น และในที่สุดทูลจะแตกหัก  เมื่อความร้อน เพิ่มขึ้น ทูลจะละลายและแตกหัก  และเมื่อความต้องการกำลังมอเตอร์สปินเดิลที่เพิ่มขึ้น  จนในที่สุดก็จะเกินกำลังสูงสุดของสปินเดิลเครื่องจักร

ดังนั้น อะไรคือสิ่งที่ ใช้กำหนด ให้จำกัด ความเร็วในการตัดเฉือนวัสดุ ที่ให้เหมาะสมกับวัสดุ  ?

คำตอบคือ อุณหภูมิและการสั่นสะเทือน  ถ้ามีทูลที่ดีมาก มีการเคลือบที่เหมาะสม สำหรับวัสดุที่กำหนดมา และการระบายความร้อนที่ดีมาก จากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ไปถึงค่าที่จะสามารถทนทานได้แม้ในความเร็วในการตัดที่เกิดขึ้น 5-7 เท่า ของความเร็วที่แนะนำ ด้วยปัจจัยที่ซึ่งจะใช้ จำกัด ความเร็วในการตัด (ความหนาเศษและอัตราป้อนกัด)  คือการสั่นสะเทือน     การสั่นสะเทือนทำให้เกิดแรงกระแทกบนทูลและขอบตัด ซึ่งเกิดอย่างรวดเร็วทำให้ทูลเริ่มแตกหักได้  ซึ่งหมายความว่าถ้าเราต้องการที่จะตัดด้วยความเร็วสูง เราจะต้องทำให้แน่ใจว่า ไม่มีการสั่นสะเทือน .

การจำกัด อุณหภูมิและการเกิดการสั่นสะเทือนเป็นเรื่องยากมาก ในวัสดุที่ยากต่อการกัดงาน  เช่น เหล็กชุบแข็ง เหล็กสแตนเลส, ไทเทเนี่ยม, อินโคเนล, Hastaloy, Wespaloy ฯลฯ  ตามคำนิยาม  ความต้านทานของวัสดุที่จะตัดจะสูงกว่า ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนมากขึ้นของทูลที่จะกัดจึง เริ่มมีอาการของการสั่นสะเทือนและยังก่อให้เกิดความร้อนมากขึ้น โดยทำให้เกิดแรงเสียดทานและ เปลี่ยนรูปแบบพลาสติกของเศษ นอกจากนี้ที่ความเร็วสูงความหนาของเศษและอัตราป้อนกัด  เกิดความต้านทานของการตัดเฉือนที่สูง ก่อให้เกิดความร้อนมากขึ้นและเกิดการสั่นสะเทือน

วิธีที่คุณสามารถทำให้แน่ใจได้ว่าคุณจะไม่มีการสั่นสะเทือนเกิดขึ้น ?

1 ถ้าเครื่องของคุณแข็งแรงมาก (ด้วยโครงสร้างที่ดี ที่ค่อนข้างใหม่และ การบำรุงรักษาที่ดี) และคุณมีความระมัดระวังที่จะมีการจับยึดชิ้นงานที่ดีมาก และคุณใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่มีคุณภาพสูงและทูลที่ดี  มีความสมดุลดีแล้วนั้นไม่มีเหตุผลที่คุณจะต้องกังวลและคุณจะสามารถทำการตัดงานอย่างรวดเร็ว ได้ (ระดับ 8 เทอร์โบ)

2 ถ้าคุณไม่สามารถทำให้มีเงื่อนไขทั้งหมดข้างต้นได้ คุณจะต้องกำหนดใช้ระดับการตัดเฉือนที่ต่ำ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสถานะของเครื่องจักรและการจับยึดชิ้นงาน

ใน iMachining ตัวช่วยสร้างเทคโนโลยีจะคำนวณค่าออกมา 16 ชุดของเงื่อนไขการตัดเฉือน รวมทั้งหมดของค่าที่เหมาะสำหรับกับการตัดเฉือนวัสดุที่กำหนดจากทูล กับเครื่องจักรที่สมบูรณ์ และการจับยึดชิ้นงานที่ดีมากๆ

ในจำนวณของ 16  ชุดของค่าเงื่อนไขการตัดเฉือนที่รวมกัน จะ ประกอบด้วย โหมดปกติของระดับ 1 ~ 8 และ โหมด Turbo ของระดับ 1 ~ 8

สำหรับเงื่อนไขการตัดเฉือน จะแสดงรวมออกมาประกอบด้วย ค่าน้อยสุดและมากสุดของ มุมการตัด (ที่ CA) อัตราป้อนกัดสูงสุด (F)และการหมุนหัวของสปินเดิล (S), ระยะของการเดินกัดในช่วงของความหนาชิป (CT) และอื่น ๆ


ระดับที่ 1 ของโหมดเทอร์โบ จะไม่ได้แสดงออกมา ต่อจากที่ระดับ 8 ปกติ

ในทุกระดับของโหมดปกติ (ที่1-8)  ระดับเทอร์โบจะ สอดคล้องกัน โดยการเพิ่มขึ้น 25% MRR มากกว่าระดับปกติ

ถ้าคุณต้องการค่า MRR ที่มากกว่าที่คุณได้รับกับระดับ8 ปกติ คุณควรเลือกใช้งานโหมดเทอร์โบ หากองค์ประกอบทุกอย่างเป็นที่สมบูรณ์แบบ (เครื่องจักร, ทูล, การทำงานและอุปกรณ์ในการจับยึดทูลและการระบายความร้อน) มีความเป็นไปได้ที่จะเลือกใช้งานในระดับ 8 เทอร์โบโหมด



การระบายความร้อน คูลลิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอีก หนึ่งอย่าง สำหรับ การเลือกใช้ระดับการกัดงานที่ถูกต้อง  ที่ต้องจัดเตรียมวิธีการระบายความร้อนที่สมบูรณ์แบบ  เมื่อเลือกใช้งานที่ระดับ 8 เทอร์โบโหมด เราจะสามารถตัดเฉือนงานได้อย่างรวดเร็วมาก แต่ความร้อนกลายเป็นปัญหา และการระบายความร้อนที่ดีมากขึ้นเป็นสิ่งที่จำเป็น

การควบคุมความหนาของเศษชิปเพื่อให้ทำความเร็วได้เร็วยิ่งขึ้น

ในช่วงต้นปี 2012 เทคโนโลยี iMachining ได้สร้างการปรับปรุงอัตราป้อนกัดงานการเข้าโค้ง แก้ไขฟีดสำหรับโค้งซึ่งถูกนำมาใช้ในการรักษาความหนาของเศษชิปให้ได้อย่างต่อเนื่อง  CT  เมื่อทำการตัดเฉือนเข้าในมุมโค้ง ค่าของ  CT จะคงที่ในมุมที่จะทำ โปรแกรมปรับได้โดยอัตโนมัติโดยการลดอัตราป้อน  จาก ลูกค้าผู้ใช้งานบางคนพบว่าคุณลักษณะนี้ได้เพิ่มความเร็วลดเวลาการทำงานของพวกเขาได้ และพวกเขาได้เวลาการทำงานที่เร็วขึ้นเป็นที่น่าพอใจมาก จากการรักษาระยะอย่างต่อเนื่อง ของ CT


เมื่อตัดเฉือนงานแบบรวดเร็ว เช่น  iMachining มีความเชื่อกันว่าอัตราป้อนฟีดมีการแก้ไขสำหรับการเข้าโค้งเป็นสิ่งจำเป็น โดยการรักษา CT ให้คงที่ ป้องกัน การโหลดทูลที่ต่อเนื่องและอายุการใช้งานทูลจะเพิ่มขึ้น  นอกจากนี้โอกาสที่จะเกิดอันตรายของเงื่อนไขการตัดเฉือนที่ไม่ถูกต้องจะมีโอกาสเกิดน้องลง


ดังนั้นนักพัฒนาจึงเพิ่มตัวเลื่อนที่เรียกว่า การปรับความหนาเศษชิปคงที่ควบคุมการเข้าโค้ง ตัวเลือกนี้จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมการแก้ไขฟีดอัตราป้อนกัดงานสำหรับการเข้าโค้ง  ตัวเลื่อนนี้สามารถพบได้ใน หัวข้อ พารามิเตอร์อื่นๆ หน้าของ iMachining Operations กล่องโต้ตอบและตำแหน่งของแถบเลื่อนถูกตั้งไว้ที่ 100% โดยเป็นค่าเริ่มต้น  หากกำหนดไว้ที่ 100% ในการควบคุม CT ให้คงที่ ตัวโปรแกรมจะควบคุมความหนาเศษในการตัดเฉือนเวลาเข้ามุมโค้งให้คงที่



ถ้าเลื่อนตัวเลื่อนไป 0% เพื่อบอกกับโปรแกรมควบคุมเพื่อรักษาอัตราป้อน กัดงาน  feed ในอัตราคงที่ระหว่างการตัดเฉือนที่เป็นเส้นทางตรง (G1) และตัดเฉือนในมุมโค้ง (G2)  ผลที่ได้คือรอบเวลาการกัดงานทำได้เร็วขึ้น   แต่ข้อควรระวังด้วย   การเพิ่ม ความหนาเศษ  CT ที่เพิ่มขึ้นมาในมุมโค้งที่เข้ากัดงาน  ทูลจะมีภาระโหลดที่เพิ่มขึ้นตามมาด้วย

By iNSolid...



วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

ทำไมในโมดูล iMachining ต้องมีการเดินแบ่งช่อง (Channels) และขุดช่องแคบๆ (Moats) ?

คำถามที่พบบ่อย  





ทำไมในโมดูล iMachining ต้องมีการเดินแบ่งช่อง (Channels) และขุดช่องแคบๆ (Moats) ? 
      เอกลักษณ์ของโมดูล  iMachining ที่เป็นคุณสมบัติที่แตกต่าง ของความสามารถ ในการสร้าง เส้นทางการเดินกัดงานแบบทำเป็นช่องทาง (Channels) และ ขุดร่องแคบๆ  เหมือน ลักษณะของคูเมือง  (Moats)  ทั้งสองอย่างนี้ได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถทำการสร้าง เส้นทางการเดินกัดงาน  (path generator-Pgen)ให้ทำ การแบ่งพื้นที่จากพื้นที่ทั้งหมดในขอบเขตโดยการกัดด้วยการขุดร่องแคบๆ แบบ คูเมืองและเก็บพื้นที่ ที่เหลือทั้งหมดโดยใช้การเดินแบบเกลียว เฉพาะของ โมดูล iMachining เกลียว Morphing  ที่เดินได้ค่อนข้างมากกว่าเดินแบบ trochoidal เพื่อช่วยลดเวลาการทำงานและช่วยยืดอายุการใช้งานของทูลได้

Channels  จะเกิดจากการตัดที่ใช้ทูลเดินแบบ trochoidal ขนาดเล็กในทำให้เกิดช่องว่างความกว้างคงที่  ที่ถูกกำหนดช่องทางการเดินด้วย วิธีการวิเคราะห์ โดยโครงสร้างพิเศษ  เมื่อทำชิ้นงานให้เป็นช่อง (Channels) แล้วจะ ทำให้มีด้านเปิด ทั้งสองด้านจะช่วยให้ทูลสามารถเดินผ่านเข้าไปได้

Moats  เป็นส่วนย่อยพิเศษในส่วนของ การทำชิ้นงานให้เป็นช่อง (Channels) คือ การขุดตัดให้ชิ้นงานเกิด ขอบข้างรอบรูปที่เป็นลักษณะของเกาะ (islands) ที่ดูเหมือนเป็น คูเมือง (Moats)  นี้คือสิ่งที่เป็นข้อแตกต่างและเป็นเอกลักษณะของโมดูล iMachining  ที่ทำการเริ่มต้นการเดินเกลียว  iMachining  Morphing  เป็นไปได้ ในพื้นที่ของชิ้นงานที่เหลือ โดยการให้ทูลสามารถที่จะเดินกัดงานได้รอบเกาะ จากการแยกพื้นที่ออกมาจากพื้นที่  ที่เหลือที่ต้องการตัดเฉือนออกทั้งหมด

รูปที่ 4: ผลที่ได้จากการทำ เป็น ช่องแคบๆ ลักษณะคูเมือง (Moats) 

ชิ้นงานที่เป็นช่อง (Channels)
นอกจากนี้การตัดเป็นช่องแคบๆ คูเมือง (Moats)  , ทำชิ้นงานให้เป็นช่อง (Channels) ใช้ในการช่วยทำให้การเดินของเกลียวทำได้  ในกรณีที่ การเดินเกลียวไม่สามารถที่จะนำมาใช้งานได้ตามปกติ

แสดงบางตัวอย่างได้ตามด้านล่าง ดังต่อไปนี้ :

ตัวอย่างที่ 1
ด้วยรูปพื้นที่แบบเปิดด้านล่างมีอัตราส่วน (อัตราส่วนของความยาวความกว้างของ กล่องสี่เหลี่ยมพื้นที่ ที่มีขนาดเล็ก) ที่ขนาด 2: 1 ในภาพวาดที่ มีมิติที่ด้านยาวที่สุดเป็น  200 มม (7.875in) และด้านกว้างมีระยะสั้นที่สุดคือ 100 มิลลิเมตร (3.95 นิ้ว)
แม้ว่าอัตราส่วนระหว่างการเดินกัดด้านข้างสูงสุดและการเดินกัดด้านข้างน้อยที่สุด จะ ช่วยทำให้การเดินกัดงานแบบของเกลียว  iMachining  Morphing  สามารถเดินกัดงาน ได้ทั้งหมด ทั่วพื้นที่ (ดูรูปที่ 5A ด้านล่าง) ใช้ระยะเวลาอาจจะสูงมาก (ตัวอย่างเช่น ถ้า อัตราป้อนกัดงานสูงสุดของเครื่องจักร มีไม่มากพอที่จะชดเชยให้กับการ ที่จะใช้เพียงครึ่งหนึ่งของการเดินกัดด้านข้างที่ระยะมากสุดได้) ในกรณีดังกล่าว  iMachining  จะจัดการสร้างพื้นที่เปิด ทำการตัดพื้นที่หนึ่งหรือมากกว่านั้น ทำชิ้นงานให้เป็นช่อง (Channels) เปิดพื้นที่เป็นสองส่วนหรือมากกว่านั้น  ที่จะสามารถทำได้ (รูปที่ 5B) จากผลที่ได้คือมีพื้นที่ย่อยที่ต้องเดินเก็บให้หมด โดย การเดินกัดแบบเกลียว  iMachining  Morphing  


รูปที่ 5 A  -ใช้ เวลาเดินกัดงาน  5.04  นาที และการเดินแบบนี้จะทำให้ อายุของทูลยาวนานขึ้นได้


รูปที่ 5 B  -ใช้ เวลาเดินกัดงาน  3.40  นาที และการเดินแบบนี้จะทำให้ อายุของทูลน้อยลง

พื้นที่แบบเปิดเหล่านี้ สามารถทำการเคลียร์ออกได้ ด้วยอัตราการนำเนื้อวัสดุออกสูงสุด ที่เป็นไปได้  MRR  ต่อด้วยเวลาที่เสียไปกับการใช้ตัดทำเป็นช่องแยกพื้นที่ (Channels)

ตัวอย่างที่ 2
ในกรณีพื้นที่แบบกึ่งเปิดตามรูปด้านล่าง (รูปที่ 6)  ที่ไม่สามารถเดินกัดงานด้วยเกลียวแบบ iMachining  Morphing  อย่างไรก็ตาม iMachining จะคำนวณเวลาที่จะใช้สำหรับการที่จะแยกพื้นที่จากขอบด้านที่ปิด (ผนัง)  ด้านบนสุด โดยใช้การทำช่องทางแยกและ เวลาที่จะใช้ในการเก็บพื้นที่เหลือ ของพื้นที่แยกออกจากกัน (ที่ตอนนี้เป็นพื้นที่แบบเปิด) ด้วยการเดินแบบเกลียวครั้งเดียว จากนั้น  iMachining จะเปรียบเทียบผลรวมช่วงของการใช้เวลาทั้งหมดไป รวมถึง เวลาที่ใช้ไปในการเคลียร์เก็บพื้นที่ ทั้งหมดโดยใช้การ เดินทูลแบบ trochoidal   ถ้าการเดินแบบแยกพื้นที่บวกรวมกับเดินเกลียวได้เวลาที่สั้นกว่า การ เดินทูลกัดการ เดินทูลแบบ trochoidal    โมดูล  iMachining จะแยกพื้นที่ตามที่อธิบายไว้  (รูปที่ 6 B)

รูปที่ 6: การใช้ประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับการทำแยกช่องพื้นที่ (Channels)

เมื่อเปิดหน้าต่างโปรแกรมสำหรับ การใช้ งาน กำหนดค่า แยกช่องพื้นที่ (Channels) ที่แสดงอยู่ในแถบที่ 2  และเลือกการใช้งานโปรแกรมขั้นสูงเช็ค บล็อค เปิดใช้งานใน  iMachining กล่องโต้ตอบ คุณจะเห็นกล่องข้อมูลสำหรับ การควบคุมค่าที่ช่วยให้คุณควบคุมการทำงานของคุณลักษณะการแยกช่องพื้นที่ (Channels) :


1.     Island moating ตัวเลือกนี้  เปิดให้ใช้งานได้ เฉพาะในกรณีที่ได้ตั้ง ค่า เป็น  On  เท่านั้น

2.     Modify Channel Parameters เมื่อคุณคลิกเลือกเครื่องหมายเช็คบล็อคหน้าข้อความนี้คุณสามารถจะปรับเปลี่ยน ค่าในช่องฟิลด์ต่างๆได้ต่อไปนี้ :
     2.1 Channel width ในส่วนนี้คือการกำหนดให้ระยะความกว้างของ ช่องที่ต้องการตัดช่องพื้นที่ (Channels)  คือระยะความกว้างระหว่างศูนย์กลางของทูล (ระยะทูลต่อทูล) ค่าเริ่มต้น ถูกตั้งโดยอัตโนมัติให้ค่า ไว้เท่ากับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทูล ที่ใช้ในโอเปอร์เรชั่น ปัจจุบัน
      



ในกรณีส่วนใหญ่ ผู้ใช้งานไม่ควรเปลี่ยนค่าตัวเลขดังกล่าวข้างต้นนี้จนกว่าคุณจะมี  เหตุผลพิเศษอื่นๆ  การเปิดช่องทั้งหมดจะเปิดที่ ปลายทั้งสองด้าน (มิฉะนั้นงานจะไม่แยกจากกัน) ซึ่งหมายความว่าทูลเดินตัดงานไปจนจบถึงส่วนสุดท้ายที่ ได้ตัดแบ่งเนื้อของวัสดุแยกออก  ถ้าคุณจะเพิ่มความกว้างของระยะให้เกินกว่าค่าเริ่มต้นของเส้นผ่าศูนย์กลางทูล การเดินตัดแบ่งเนื้อของวัสดุจะนานขึ้น  ในวัสดุที่อ่อนนุ่ม ก็จะไม่เป็นปัญหา แต่ในวัสดุแข็งนี้จะสามารถทำให้ทูลแตกหักได้  ในด้านที่มีความบางและบางมากๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ด้านล่าง

      2.2  Thin wall thickness – ในบางครั้งใน ระหว่างที่ทำการกัดงานพื้นที่ปิด, กำหนดค่าระยะผนังบางชั่วคราวจะสร้างเพิ่มไว้ให้ด้านหลัง (การสร้างขึ้น) เพียงเพื่อที่จะถูกกัดออกในภายหลังได้  ระยะของผนังบางๆเหล่านี้จะต้องได้รับการกำหนดอย่างรอบคอบมิฉะนั้น  จะสามารถก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนเพิ่มการสึกหรอของทูลได้มากและแม้กระทั่งทำให้ทูลแตกหักได้  นี้เป็นเรื่องจริงที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตัดเฉือนกับวัสดุแข็งๆ
ทุกๆ ครั้งที่ทูล เดินกัดผ่านวิ่งออกมาที่อากาศ จะต้องมีการเก็บผนังบางในภายหลัง  แสดงให้เห็นตัวอย่างข้างต้นของการแบ่งแยกช่องของชิ้นงาน

ตัวอย่างที่ 3
อีกตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ iMachining ทำการเดินตัดเฉือน พื้นที่ให้เป็น ช่องแคบ ๆ เหมือน คูเมืองหรือแบ่งช่องว่างในพื้นที่อยู่ ติดกับขอบงาน

รูปที่ 7: ค่าสูงสุดของ  maximum Thin wall thickness



ในกรณีดังกล่าวช่องว่างหรือช่องแคบๆ ที่เหมือนคูเมือง ทูลจะเดินออกมา ตัดผนังบางๆในภายหลัง  หรือว่าจะต้อง เดินเก็บผนังบางๆ ออกให้หมดในการเดินครั้งแรก

iMachining โมดูล ซึ่งจะมีการคำนวนให้ล่วงหน้าอัตโนมัติ โดยคำนึงถึงกรณีเหล่านี้และ จะขยายขนาดช่องการเดินกัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด ผนังบางๆ  ไม่ให้เกิด ขึ้นในชิ้นงาน

ระบบได้มีการตั้งค่าเริ่มต้นไว้สำหรับ ความหนาของผนังบางสูงสุด ที่มองดูว่าจะคงยังเป็นอันตรายและซึ่งควรจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น  (และอย่าง เช่นผนังที่บางกว่าค่าสูงสุดที่กำหนดไว้) โดยการขยายค่านี้ให้กว้างขึ้น


ถ้าหากผู้ใช้งานพิจารณาเห็นว่าค่าเริ่มต้นมีขนาดเล็กเกินไป ซึ่งหมายความว่าในความเห็นของผู้ใช้เห็นว่าขนาดของผนังบางนั้นเล็กเกินไปอาจเป็นผลอันตรายได้และ ควรจะทำการป้องกันโดยวิธีการเพิ่มค่านี้  อย่างไรก็ตามเรา ขอแนะนำให้คุณไม่ควรปรับลดค่าให้ต่ำกว่าค่าโปรแกรมเริ่มต้น


                   3.  Separation control  - การควบคุมระยะช่อง การแบ่งพื้นที่ชิ้นงาน

ตามทั้งหมดที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น  iMachining โมดูล มีการให้กำหนดใช้ ระยะช่อง การแบ่งพื้นที่ชิ้นงาน เพื่อให้พื้นที่แยกออกจากกัน  ซึ่งไม่สามารถใช้การเดินแบบเกลียวได้ทั้งหมด และจึงแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็นสองส่วนเพื่อที่จะทำให้สามารถทำการเดินกัดงานแบบเกลียวเดินผ่านไปได้ เพื่อเก็บเนื้อวัสดุออกได้ทั้งหมด (หรือใน กรณีหลังเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการกัดงาน) โดยใช้การเดินแบบเกลียวแบบ iMachining  Morphing 


การตัดสินใจว่าจะทำการแยกช่องพื้นที่ชิ้นงานหรือไม่จะทำบนพื้นฐานของผลประสิทธิภาพรวม แต่การตัดสินใจว่าจะมีประสิทธิภาพมากพอที่จะแยกช่องพื้นที่ได้หรือไม่นั้น   iMachining โมดูลต้องมีความสามารถในการคำนวณระยะเวลาในแต่ละวิธีที่เครื่องจักรกลทำงานได้และเลือกแต่ละวิธีมาเปรียบเทียบเวลาในการทำงานกัน  ในปัจจุบันโมดูล  iMachining จะยังไม่รู้ในเรื่องความเร็วสูงสุดของแกนเครื่อง ด้วยเหตุผลนี้เราได้ให้ ออกแบบตัวเลื่อนเป็นแบบพิเศษในหน้าต่างการทำงานใน

ส่วนของ  Channels ในส่วนย่อย  เรียกว่า Separate  - คือการควบคุมระยะการแบ่งพื้นที่ช่องชิ้นงาน  ที่ผู้ใช้งานสามารถใช้ในการกำหนดให้  iMachining ทำการสร้างระยะของการแบ่งช่องพื้นที่ชิ้นงานให้มากขึ้นหรือให้น้อยลงได้

การปรับตัวเลื่อนเลื่อนไปทางขวา (มีปัจจัยทำให้การแยกพื้นที่ได้มากกว่า) จะส่งผลให้ช่องการแบ่งแยกพื้นที่ให้มีขนาดกว้างมากขึ้น  โมดูล  iMachining  ทำงานในลักษณะที่ว่าถ้ากำหนดค่าปัจจัยการแยกพื้นที่ ให้สูงขึ้น จะสามารถเร่งเวลาทำให้เครื่องจักร เดินได้เร็วกว่าโดยเฉลี่ยปกติ  และดังนั้นจึงเห็นว่าการเดินตัดเฉือนเป็นช่องแบ่งพื้นที่จะทำให้ใช้เวลาน้อย กว่ามากโดยเฉลี่ย  โดยผู้ใช้งานส่วนใหญ่ไม่ต้องการที่จะปรับตัวเลื่อนนี้ออกจากค่าเริ่มต้น

สำหรับผู้ใช้ที่อาจจะพบว่าควรต้องการปรับระดับเพื่อใช้งาน โดยเฉพาะกับเครื่องจักรที่มีค่าอัตราเร่งที่สูงหรือต่ำได้

By iNSolid...